สมัครสมาชิก ลงชื่อเข้าใช้
ดาต้าไทย หน้าแรก

โปรไฟล์ของ DuchLovePiaa https://data-th.com/?474 [บุ๊คมาร์ก] [คัดลอก] [แชร์] [RSS]

บล็อก

ซีดีรอมคืออะไร : What is CD-ROM

เข้าชม/อ่าน 123 ครั้ง2018-9-12 12:58

  ซีดีรอม (CD ROM ย่อมาจาก Compact disc Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลชนิดหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage 
   Media) ลักษณะเป็นแผ่นจานกลมคล้ายแผ่นเสียงหรือแผ่นคอมแพ็คดิสก์สำหรับฟังเพลง ข้อดีคือ เก็บข้อมูลได้ปริมาณมากกว่าดิสก์เก็ต ซีดีรอม 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูล
   เทียบเท่ากับดิสก์เก็ตความจุ 1.44 MB จำนวน 600 แผ่น หรือเท่ากับฮาร์ดดิสก์ขนาดความจุ 600 MB ในขณะที่ราคาของซีดีรอมถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากัน 
   จากข้อดีดังกล่าวจึงมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ประเภทเกมส์และโปรแกรมบรรจุในซีดีรอมมากขึ้น

  ประเภทของซีดีรอม 

             เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของ
   ซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปก
   สีเหลือง เป็นต้น

            ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้ 
  - Yellow CD หรือ DATA Storage CD 
  - Red CD / Audio CD 
  - CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660 
  - Mixed Mode CD 
   
             Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD 
   เป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูล
   ที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ
   โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์ 
   ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ 

   การใช้งาน DATA-CD 
   - ใช้เก็บข้อมูล 
   - สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ 
   - สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์ 
   - สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน

           Red CD / AudiO CD 
   รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน
   Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี 
   Track ได้ 99 Track 

             CD-ROM XA หรือ Multi-session CD 
   Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกัน
   หนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-
   session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม
   
   ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi - Session 
   - การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ 
   - สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล

               Mixed Mode 
   Classic Mixed Mode หรือ Mixed Mode ยุคเบื้องต้นนั้นคือแผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลใน Track แรก ตามด้วย Audio ใน Track 
   ต่อไปอีกหนึ่ง Track หรือหลายๆ Track โดยบรรจุใน session เดียว Mixed-Mode CD ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์


   อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ Classic Mixed Mode เนื่องจากหากบังเอิญว่าข้อมูลใน Track แรกนั้นนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ แต่กรณีนี้
   บรรดาเครื่องเล่นซีดีของชุดเครื่องเสียงจะไม่สามารถใช้งานได้ ตรงกันข้ามอาจเกิดความเสียหายได้ เพราะใน Track ของข้อมูลซึ่งเป็น Track แรกนั้นคำนวณไม่ได้ว่า
   ปริมาณสัญญาณที่ถูกส่งออกมานั้น อาจจะมากขนาดที่ทำให้ลำโพงเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นซีดีบางตัวจะสามารถตรวจจับ CD-track และอ่านข้ามไป แต่โดยปกติ
   เครื่องเล่นซีดีจะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ บรรดาผู้ผลิตเครื่องเล่นซีดีที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานซีดีรอมประเภทนี้ต่างก็กลัวปัญหา และเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ นั้นก็คือ 
   CD Extra 

             CD Extra 
   CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดีรอม 
   ปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว

  CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น 
   Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมา
   เล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับ
   เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก 

   คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิต
   ภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session

   คุณสมบัติของแผ่นซีดีรอม

  CD-ROM เป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่หลากหลายต่างจากสื่อประเภทอื่นหลายประการด้วยกัน เช่น

  - ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบท์ เทียบได้กับ หนังสือ 250,000 หน้า หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน 
   300,000 แผ่น หรือหนังสือสารานุกรม 1 ชุดจำนวน 24 เล่ม หรือภาพสี 5,000 ภาพ หรือเท่ากับข้อมูลในแผ่น floppy disk ขนาด 104 เมกกะไบท์ 460 แผ่น หรือ
   ใน hard disk ขนาด 20 เมกกะไบท์ ถึง 34 ชุด ถ้าบุคคลคนหนึ่งอ่านหนังสือหนึ่งหน้าต่อหนึ่งนาทีโดยไม่หยุดพักในเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน ประมาณว่าจะต้องใช้เวลา
   เกือบ 11 เดือนจึงจะอ่านข้อมูลในแผ่น CD-ROM แผ่นหนึ่งได้หมด 
  - บันทึกข้อมูลนานาประเภท อยู่ในลักษณะของดิจิทัล ( digital encoding ) สามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิค
   เสียงพูด และเสียงดนตรี ได้อย่างมีคุณภาพสูง
  - การสืบค้นฉับไว CD-ROM บรรจุข้อมูลได้มากมายมหาศษลแต่สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำภายในเวลาเพียง1 วินาทีเท่านั้น 
  - มาตรฐานสากล แผ่น CD-ROM มีรูปแบบมาตราฐานจึงสามารถใช้กับหน่วยขับ CD-ROM หรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วไปได้เหมือนกัน 
  - ราคาไม่แพง ทั้งแผ่นและเครื่องเล่นซีดีรอมมีราคาถูกลงอย่างมากและมีอย่างแพร่หลาย 
  - อายุการใช้งานนาน CD-ROM มีอายุการใช้งานนาน แต่แผ่นก็สามารถเสื่อมสภาพได้จากความชื้นและความร้อนต่างๆ
  - ความคงทนของข้อมูล CD-ROM เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึงทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตลอดไป และที่สำคัญ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถเขียน
   ทับได้ 
  - ประหยัด เมื่อเปรียบเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่น CD-ROM กับแผ่น floppy disk แล้ว จะเห็นได้ว่า CD-ROM แผ่นหนึ่ง สมารถบรรจุข้อมูลได้
   มากกว่าแผ่น floppy disk หลายร้อยเท่า จึงทำให้ประหยัดเงินในการใช้ CD-ROM เพียงแผ่นเดียวแต่บันมึกข้อมูลได้มากกว่า 
  - ความสะดวก เนื่องจาก CD-ROM เป็นแผ่นที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้โดยสะดวก และส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย
   โดยทางไปรษณีย์ 

   กระบวนการผลิตซีดีรอม 

               การผลิตซีดีรอมไม่เหมือนกับการผลิตแผ่นเสียง ขั้นตอนแรก คือการสร้างแผ่นมาสเตอร์ข้อมูล ที่จะถูกบันทึกลงบนแผ่นมาสเตอร์นี้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นภาพ
   เสียง หรือข้อมูลทั่วไป ซึ่งจะ มีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลต่างกัน โดยใช้กำลังแสงเลเซอร์ที่มีควมเข้มข้นสูงมากกว่าเครื่องเล่น ซีดีทั่วไปหลายเท่าตัว ดังนั้นจึงต้องใช้เทคนิค
   การถอดรหัสข้อมูลแบบพิเศษที่เรียกว่า miroscopic pits เมื่อได้แผ่นซีดีมาสเตอร์แล้วจึงนำมาใช้ทำเป็นปั๊มโลหะต้นแบบเพื่อทำสำเนาต่อไป การผลิตแผ่นซีดีรอมทั่วไป 
   จะใช้แผ่น ซีดีเปล่ามาทำการปั๊มด้วย master stamps หลังจากนั้นจึงนำไปเคลือบด้วยสาร Poly carbonate บางๆซึ่งจะทำให้แผ่นซีดี ดูสะท้อนแสงเป็นเงาแวววาว
   และเป็นส่วนที่สะท้อนแสงที่ยิงมาจากตัวกำเนอแสงเลเซอร์ในไดรฟ์ซีดีรอม จากนั้นก็นำมา เคลือบด้วยแล็กเกอร์บางๆอีกหนึ่งขั้นสุดท้ายก็พิมพ์สลากรายละเอียด ของ
   แผ่นดิสก์ ติดด้านบนของแผ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย พื้นผิวที่เป็นส่วนเก็บข้อมูลอยู่บริเวณด้านบนของแผ่นซีดีรอมนั่นเอง นั่นคืออยู่ชั้นถัดลงไปจากสลากที่ติดทับเอาไว้ และ
   ไดร์ฟซีดีรอมอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีด้านล่างของแผ่น โดยโฟกัสแสงเลเซอร์ผ่านความหนา 1.2 มิลลิเมตร ของสารโพลีคาร์บอเนต นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมด้านล่างของ
   แผ่นซีดีรอมที่รอยขีดข่วนเพียงเล็กน้อยไม่ส่งผล เสียหายต่อข้อมูลในแผ่น เพราะรอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยไม่สามารถเข้าลึกไปถึงส่วนที่เก็บข้อมูลเอาไว้
   ในอีกมุมหนึ่ง รอยขีดข่วนด้านบนของแผ่นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายสารโพลีคาร์บอเนตที่เคลือบไว้อย่างบางๆได้ ซึ่งจะมีผลทำให้แผ่นซีดีรอมเสียหายทันที แม้
   แผ่นซีดีรอมทนทานกว่าแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ แต่จะโค้งงอได้อย่างง่ายดาย หากถูกทิ้งไว้กลางแดด ดังนั้นจึงต้องเก็บรักษาแผ่นอย่างถูกวิธี โดยการใส่ไว้ใน caddy 
   หรือกล่องใส่แผ่นซีดีโดยเฉพาะ

  เทคนิคของการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีรอม

            แผ่นซีดีรอม เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปของบิต 0 และ 1 ในฮาร์ดดิสก์นั้นตัวแผ่นจากจานแม่เหล็กจะบันทึกข้อมูลโดยอาศัยการ
   เหนี่ยวนำเซลล์อนุภาค แม่เหล็กขนาดเล็กหลายๆเซลล์เข้าด้วยกัน แต่แผ่นซีดีรอมนั้นใช้เทคนิคการบันทึกข้อมูลที่ต่าง กันไป โดยเริ่มแรกแผ่นดิสก์จะมีสภาพราบเรียบ 
   ซึ่งจะเรียกว่า   สวนLandsจากนั้นจึงถูกเผาด้วย ลำแสงเลเซอร์ตามกระบวนการผลิตที่ได้กล่าวมาข้างต้น จนกลายเป็นหลุมลึกลงไป เป็นส่วนที่ เราเรียกว่า pits 
   ดังนั้นเมื่อแผ่นดิสก์หมุนอยู่ในตัวไดร์ฟแสงเลเซอร์จะพาดผ่านจากส่วน Lands จะสะท้อนกลับออกมาแต่ถ้าผ่านส่วน Pits จะกระจายหายไป ส่วน photodetertor 
   ในหัวอ่านเลนส์ จะทราบถึงความแตกต่างสองประการนี้และนั่นคือคำตอบว่ามันทราบได้อย่างไรว่าบิตข้อมูลนั้นเป็น 1 หรือ 0 


อืม..ดีๆ ใช้ได้

อะไรก็ไม่รู้

เห็นด้วยๆ

ซึ้งจังเลย

ขำฮาตรึม

ความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)

facelist doodle วาดภาพ

คุณต้องลงชื่อเข้าใช้ก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครสมาชิก

รูปแบบข้อความล้วน|อุปกรณ์เคลื่อนที่|รายชื่อผู้กระทำผิดในเว็บนี้|ดาต้าไทย

GMT+7, 2024-4-27 19:07 , Processed in 0.039446 second(s), 20 queries .

Powered by Discuz! X3.4

© 2001-2013 419115.com.

ขึ้นไปด้านบน